วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การผลิตโซดาแอช

การผลิตโซดาแอช




      โซดาแอชมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคาร์บอเนต มีสูตรเป็น Na2CO3 การผลิตโซดาแอช เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ หรือโซดาแอมโมเนีย กระบวนการผลิตโซดาแอชมีดังนี้
-หินปูน (CaCO3) มาเผา จะได้ CaO และ CO2 เป็นผลิตภัณฑ์
CaCO3(s)       ->       CaO(s) + CO2(g)
-นำ CO2 มาทำปฏิกิริยากับสารละลาย NaCl เข้มข้น และ NH4OH ได้ NaHCO3 และ NH4Cl  เป็นผลิตภัณฑ์
CO2(g) + NaCl(aq) + NH4OH(aq)       ->     NaHCO3(s) + NH4Cl(aq)
-นำ  NaHCO3 มาเผา จะได้ Na2CO3 , H2O และ CO2  เป็นผลิตภัณฑ์
2NaHCO3(s)      ->        Na2CO3(s) + H2O(l) + CO2(g)
Na2CO3 ที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตกระดาษ แก้ว สิ่งทอ สบู่ ผงซักฟอก กระจก สารกำจัดความกระด้างของน้ำ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม

การผลิตโซดาแอช

ชื่อทางเคมีโซดาแอช                          : โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
กระบวนการผลิตโซดาแอช               : กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการโซดาแอมโมเนีย
วัตถุดิบ                                                   : 1.โซเดียมคลอไรด์ (NaC
                                                                    2. แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO
                                                                    3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3)
ขั้นตอนการผลิต :
1. นำ CaCO3 (s) มาเผา ได้ CaO (s) และ CO2 (g)
2. นำ CO2 (g) ไปทำปฏิกิริยากับ NaCl  (aq) เข้มข้น และ NH3  (g) ได้  NaHCO3 (s)  และ NH4Cl (aq)
3. กรองแยก NaHCO3 (s) ออก แล้วนำไปเผา ได้ Na2CO3 (s) หรือโซดาแอช

ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก :
CO2 (g) จากการเผา NaHCO3 (s) และ CaO (s)จากการเผา CaCO3 (s) เมื่อนำมาละลายน้ำ จะได้     
Ca(OH)2 (aq)   และเมื่อ Ca(OH)2 (aq)   ทำปฏิกิริยากับ NH4Cl (aq) จะได้
NH3  (g) กลับมาใช้ในขึ้นตอนที่ 2 อีกครั้ง  และเกิด
CaCl2(s) นำไปใช้เป็นใช้เป็นสารดูดความชื้น แต่มีการนำไปใช้น้อย จึงเกิดปัญหาในการกำจัด
NaHCO3 (s)  ทำผงฟู
NH4Cl (aq)  ทำปุ๋ยเคมี



แหล่งที่พบโซดาแอช
      โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง
     โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ มลรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโซดาแอช

ชื่ออื่น                  โซดาแอช (Soda ash)
โซดาซักผ้า (Washing soda)
สูตรโมเลกุล      Na2CO3
น้ำหนักโมเลกุล                106.0 g/mol
ลักษณะปรากฏ  ของแข็งสีขาว
เลขทะเบียน CAS               [497-19-8]
คุณสมบัติ

ความหนาแน่น และ เฟส  2.5 g/cm3, ของแข็ง
การละลาย ใน น้ำ                                30 g/100 ml (20 °C)
จุดหลอมเหลว    851 °C
จุดเดือด                สลายตัว
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง

แอนไอออนอื่น                    โซเดียมไบคาร์บอเนต
แคทไอออนอื่น                    ลิเทียมคาร์บอเนต
โพแทสเซียมคาร์บอเนต

ขอบคุณที่มาจาก http://ktw61.blogspot.com/




การผลิตสารฟอกขาว



การผลิตสารฟอกขาว

สารฟอกขาว  คือ
              สารฟอกขาว เป็นสารเคมีประเภทหนึ่ง ที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างปริมาณสูงในอาหารหลายชนิดที่จำหน่ายในประเทศจึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์ อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบ ซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยาซัด" ซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่าผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน


สารฟอกขาวในอาหาร      
         ไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกรวมถึงการพัฒนาครัวไทยไปสู่ครัวโลก อาหารที่มีคุณภาพดี ปลอดภัย ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ
           การนำสินค้าการเกษตรมาพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสิ่งที่ดี แต่จะต้องมีคุณภาพได้ระดับมาตรฐานสากล ปราศจากสารปนเปื้อน ได้แก่ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้ โลหะหนักในสัตว์น้ำ ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ ตลอดจนการตกค้างของสารเคมีที่ใช้ปรุงคุณภาพการผลิต เช่น สีสังเคราะห์ สารกันบูด และสารฟอกขาว เป็นต้น
           สารปนเปื้อนต่างๆมักจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเสื่อม และการไม่ยอมรับผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก  รวมถึงเป็นข้ออ้างการกีดกันทางการค้า
            สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สารฟอกขาวบางตัวไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหาร เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพ ได้แก่ สารไฮโดรซัลไฟต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ยาชัดซึ่งเป็นสารที่นิยมใช้ในการฟอกย้อมผ้า แต่พบว่าผู้ผลิตหลายรายนำมาใช้ในการผลิตอาหารเพื่อฟอกสีอาหารให้ดูน่ากิน
           สารซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  เช่น  ผัก ผลไม้  น้ำผลไม้ น้ำหวานจากพืช และอาหารทะเล พวกกุ้ง ปู ปลา ปลาหนึก เป็นต้น ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้เองทำให้มีการนำสารนี้มาใช้อย่างกว้างขวางในผลิตอาหารต่างๆเช่น
           •   การผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง
           •   การผลิตน้ำตาล ทั้งน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึก
           •   การฟอกสีผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น แป้งสาลี วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น           •   พืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือกและต้องการเก็บไว้นานๆโดยไม่เกิดสีน้ำตาลเข้มข้น เช่น การ  ผลิตมันฝรั่งอบแห้ง กล้วยอบแห้ง บางครั้งมีการนำไปแช่ถั่วงอก หน่อไม้ หรือใส่ในการผลิตผลไม้แห้ง ผลไม้ดองและแช่อิ่ม
           •   การผลิตน้ำผลไม้
           •  ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในการผลิตไวน์
                           
          โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟตซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
       อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

           องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไว้ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และหากมีการใช้ต้องระบุในฉลาก
           สารซัลไฟต์จัดเป็นสารฟอกขาวที่ประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท ได้แก่ การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น โดยมีการกำหนดกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้วัตถุเจือปนอาหารตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม-โพแทสเซียมซัลไฟต์  โซเดียม -โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียม -โพแทสเซียมเมทาไบซัลไฟต์เทานั้น และมีการระบุชนิดของอาหารที่อนุยาติให้ใช้โดยมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีการตกค้างในอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไปขึ้นกับปริมาณและลักษณะการบริโภคอาหารนั้นๆ แต่ก็เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลตามลักษณะการบริโภคอาหารของชาวตะวันตก     
  อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพบการตกค้างของสารฟอกขาวในกลุ่มของสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร สารกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารซัลไฟต์ตัวอื่นมาก ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอและระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้
           เนื่องจากสารซัลไฟต์มีคุณสมบัติในการฟอกขาวที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูกจึงมีผู้ผลิตหลายรายนิยมนำไปใช้ในการฟอกขาวอาหารหลายประเภท ทั้งในชนิดที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว ดังมีการสำรวจพบปริมาณซังเฟอร์ไดออกไซต์ตกค้างในปริมาณสูงในอาหารที่จำหน่ายตามท้องตลาดหลายประเภท ดังแสดงในตารางที่
           ดังนั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่มที่กล่าวมานี้ในการผลิต ไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
           ส่วนในอาหารที่ไม่ต้องแสดงฉลากควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารนั้นว่าโดยธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผักหรือผลไม้ที่ปอกเปลือก เมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น
           ถั่วงอก เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดนั้นจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่างๆ มักมีสีน้ำตาลถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว
           น้ำตาลปี๊บน้ำตาลปึก เมื่อเก็บไว้จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้นานๆ ที่อุณหภูมิห้องแสดงว่ามีการใช้สารฟอกขาวในการผลิต
อันตรายจากการผลิตสารฟอกขาว
โดย ปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่ มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟตซึ่งไม่มี พิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม การได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้ คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบ คือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ความดันเลือดต่ำ เป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้  ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน
นอก จากนี้ สารนี้ยังสามารถทำปฏิกิริยากับวิตามินบางชนิด เช่น ไทอามีน ทำให้เสี่ยงต่อ การเกิดโรคขาดวิตามินตัวนี้ ถ้าได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดพิษสะสมขึ้นโดยไปรบกวนการทำงานของ เอนไซม์ก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเมตาบอลิซึมในร่างกายได้  องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของ สารกลุ่มนี้ไว้ว่าไม่ควรบริโภคเกิน ๐.๗ มิลลิกรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม ต่อ ๑ วัน  และหากมีการใช้ต้องระบุในฉลาก สารซัลไฟต์จัดเป็นสารฟอกขาวที่ประเทศ ไทยอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท ได้แก่ การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น โดยมีการกำหนดกลุ่มที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารตามประกาศของกระทรวง สาธารณสุข ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โซเดียม-โพแทสเซียมซัลไฟต์, โซเดียม-โพแทสเซียมไบซัลไฟต์ และโซเดียม-โพแทสเซียมเมทาไบซัลไฟต์เท่านั้น และมีการระบุชนิดของอาหารที่อนุญาตให้ใช้โดยมีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่ยอม ให้มีการตกค้างในอาหารแต่ละประเภทแตกต่างกันไปขึ้นกับปริมาณและลักษณะการ บริโภคอาหารนั้นๆ แต่ก็เป็นการกำหนดตามมาตรฐานสากลซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลตามลักษณะการบริโภค อาหารของชาวตะวันตก
         อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจพบการตกค้างของสารฟอกขาวในกลุ่มของสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ซึ่งไม่ อนุญาตให้ใช้ในอาหาร สารกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ฟอกย้อม สิ่งทอ และกระดาษ เป็นต้น สารกลุ่มนี้มีความเป็นพิษรุนแรงกว่าสารซัลไฟต์ตัวอื่นมาก ถ้ากินเข้าไปจะทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอและระบบทางเดินอาหาร  มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนเลือดล้มเหลว ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ เนื่องจากสารซัลไฟต์มีคุณสมบัติในการฟอกขาวที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูก จึงมีผู้ผลิตหลายรายนิยมนำไปใช้ในการฟอกขาวอาหารหลายประเภท ทั้งในชนิดที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว ดังมีการสำรวจพบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในปริมาณสูงในอาหารที่จำหน่าย ตามท้องตลาดหลายประเภท ดังแสดงในตารางที่ ๑
         ดัง นั้นในการเลือกซื้ออาหารควรดูฉลากที่แสดงการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการ ระบุในฉลาก สำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดควรระวังการบริโภคอาหารที่มีการใช้สารฟอกขาวกลุ่ม ที่กล่าวมานี้ ในการผลิตไม่ควรบริโภคอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ส่วนในอาหารที่ไม่ต้องแสดงฉลากควรสังเกตลักษณะปรากฏของอาหารนั้นว่าโดย ธรรมชาติของอาหารควรเป็นอย่างไร เช่น ผักหรือผลไม้ที่ปอกเปลือกเมื่อวางทิ้งไว้จะมีสีคล้ำขึ้น ถั่วงอกเมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดนั้นจะมีสีคล้ำขึ้น น้ำตาลชนิดต่างๆ มักมีสีน้ำตาลถ้าผลิตโดยไม่ใช้สารฟอกขาว น้ำตาลปี๊บน้ำตาลปึกเมื่อเก็บไว้จะมีสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ ถ้ายังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนสีเมื่อเก็บไว้นานๆ ที่อุณหภูมิห้องแสดงว่ามีการใช้สารฟอกขาวในการผลิต

ขอบคุณ


การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน


การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และแก๊สคลอรีน

การผลิต NaOHในอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้หลายวิธี คือ
1.การผลิตโดยใช้เซลล์ไดอะแฟรม
      เซลล์ไดอะแฟรม เป็นเซลล์ที่มีแผ่นแอสเบสตอสกั้นระหว่างแอโนดกับแคโทด แอโนดจะทำด้วยไทเทเนียม แคโทดจะทำด้วยเหล็กกล้า ปฏิกิริยาที่เกิดในเซลล์

ที่แอโนด 2Cl- Cl2 + 2e-

ที่แคโทด 2H2O + 2e- H2 + 2OH-

แผ่นไดอะแฟรมยอมให้ไอออนผ่านไปมาได้แต่ไม่ยอมให้ก๊าซ H2 และ Cl2 ผ่านและมีการปรับ ความดันด้านแอโนดให้สูงกว่าแคโทด ไอออนทางด้านแอโนดจึงไหลผ่านไปทางด้านแคโทดเสมอ OH-ที่แคโทดจึงไม่ไหลไปที่แอโนดจึงได้ NaOH ที่แคโทด Na+ และ Cl- ที่เกิดปฏิกิริยาไม่หมดจะผ่านแผ่น ไดอะแฟรมไปอยู่ที่แคโทดด้วย จะได้ NaOH ที่ไม่บริสุทธิ์ คือมี NaOH 10% แต่มี NaCl15 % จึงแยก
NaCl ออกโดยการนำไประเหยน้ำ เพื่อให้ NaCl ตกผลึก จะได้สารละลาย NaOH 50% และมี NaCl 1%
ซึ่ง สามารถ นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมได้
2.การผลิตโดยใช้เซลล์ปรอท
เซลล์ปรอทเป็นเซลล์ที่ใช้ไทเทเนียมเคลือบเป็นแอโนดและใช้ปรอทเป็นแคโทด ปฏิกิริยาที่เกิดในเซลล์






เซลล์อิเล็กโทไลต์อย่างง่าย (เซลล์ปรอท) ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์
ที่แอโนด 2Cl- Cl2 + 2e-
ที่แคโทด Na+จะรับอิเล็กตรอนเกิดเป็น Na เข้ารวมกับปรอทเกิดเป็นโซเดียมอะมัลกัม
Na+ + e-  NaHgx
จากนั้นแยกNaOH ออกจากHgโดยผ่านน้ำบริสุทธิ์เข้าไป Naจะทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็นNaOH ดังสมการ

2NaHgx + 2H2O 2NaOH + H2 + 2xHg

การผลิต NaOH วิธีนี้จะได้ NaOH เข้มข้น50 %และ Hg หลังจากแยก NaOH ออกแล้วสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ ในการผลิต NaOH นี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือจะมี HgCl2 ปนออกมากับน้ำทิ้ง จุลินทรีย์จะเปลี่ยน HgCl2ให้เป็นสารอินทรีย์ของปรอทเช่น (CH3)2Hg สารปรอทจะเข้าไปสะสมอยู่ในสัตว์น้ำและถ่ายทอดมาสู่คนทำให้เป็นโรคพิษปรอทได้

3.การผลิตโดยใช้เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออน
เซลล์เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนคล้ายกับเซลล์ไดอะแฟรมต่างกันที่ใช้เยื่อแลกเปลี่ยนไอออนแทนไดอะแฟรม
โดยเยื่อแลกเปลี่ยนไอออนจะยอมให้เฉพาะไอออนบวกผ่านเท่านั้นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเซลล์
ที่แอโนด 2Cl- Cl2 + 2e-
ที่แคโทด 2H2O + 2e- 2OH- + H2
OH- จะรวมกับ Na+เกิดเป็น NaOH การผลิต NaOHโดยวิธีนี้จะได้ความเข้มข้นประมาณ30-35%

ขอบคุณ http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem3/Nacl_Cl.htm ?  ที่ให้ข้อมูล

อุตสาหกรรมโซเดียมคลอไรด์


            
การผลิตโซเดียมคลอไรด์(NaCl)
         ร่วมส่งเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ คลิกที่นี่ บทความของท่านมีประโยชน์กับผู้ไม่รู้อีกมากมาย
การผลิตโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงมีสูตรเป็น NaCl เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุ Na และ Cl ลักษณะเป็นผลึกสีขาว รสเค็ม รูปผลึกเป็นแบบทรงลูกบาศก์ จุดหลอมเหลว 801 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้ดี โดยมากใช้ ทะเล และจากดิน ประเทศที่ผลิตเกลือแกงได้มาก คือ ประเทศออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดียและสหรัฐอเมริกา เกลือแกง แบ่งตามวิธีการผลิตมี 2 ประเภทคือ เกลือสมุทร และเกลือสินเธาว์

การผลิตเกลือสมุทร เกลือสมุทรทำกันมากในบริเวณใกล้ทะเล เช่น ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ โดยมากทำเกลือปีละ 2 ครั้ง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูใบไม้ร่วง ในประเทศไทยมีอากาศแห้งแล้งติดต่อกันประมาณครึ่งปี ดังนั้น การทำนาเกลือจึงเริ่มทำตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนพฤษภาคม หากปีใดฝนตกชุกในระยะดังกล่าวการทำนาเกลือจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

การผลิตเกลือสมุทร  มี 2 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นเตรียมพื้นที่นา จะต้องปรับพื้นดินให้เรียบและแน่นแบ่งที่นาเป็นแปลงๆแปลงละ

ประมาณ 1 ไร่ ยกขอบให้สูงเหมือนคันนา และทำร่องระบายน้ำระหว่างแปลงพื้นที่นาเกลือแบ่งเป็น3 ตอน คือ นาตาก นาเชื้อ และนาปลงที่นาทั้ง3 ตอนควรมีพื้นที่ลดหลั่นกันลงมาเพื่อความสะดวกในการระบายน้ำ

2. ขั้นตอนทำนาเกลือ

2.1 ก่อนถึงฤดูทำนาเกลือจะระบายน้ำเข้าไปเก็บไว้ในวังขังน้ำ เพื่อให้โคลนตมตกตะกอน

2.2 เมื่อถึงฤดูทำนาเกลือ( พ.ย.พ.ค. )จะระบายน้ำทะเลจากวังขังน้ำเข้าสู่นาตาก โดยให้

ระดับน้ำสูงกว่าพื้นที่นา 5 ซม.กระแสลมและแสงแดดจะทำให้น้ำระเหยไปจนได้ถึงพื้น1.08 จึงระบายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ

ที่นาเชื้อ CaSO 4 จะตกผลึกออกมาเป็นอันดับแรกเป็นผลพลอยได้ น้ำในนาเชื้อจะระเหยต่อไปจนได้ความถ่วงจำเพาะ 1.20 จึงระบายน้ำเข้าสู่

นาปลง ที่นาปลง NaCl จะเริ่มตกผลึกและจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆขณะเดียวกันน้ำทะเลที่เหลือจะมีความเข้มข้นของ Mg 2+ Cl - และ SO 4 2- เพิ่มขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเข้าไป เพื่อป้องกันไม่ให้ MgCl 2 และ MgSO 4 ตกผลึกปนกับ NaCl



คุณภาพของเกลือโซเดียมคลอไรด์ คุณภาพของเกลือ NaCl ขึ้นอยู่กับมลทินที่เจือปนอยู่ เช่น เกลือแมกนีเซียม เป็นต้น ถ้าเกลือ

NaCl มีเกลือแมกนีเซียมปนมาก เกลือจะชื้นง่าย ราคาตก ดังนั้น ถ้าต้องการเกลือที่มีคุณภาพดีควรเติมปูนขาว 0.4 – 0.5 กรัมต่อน้ำ

1 ลิตร ลงในน้ำเชื้อ เพื่อทำให้น้ำทะเลมีสมบัติเป็นเบส ( pH 7.4 - 7.5 ) Mg 2+ ไอออนจะตกตะกอนมาในรูปของ Mg (OH) 2

ทิ้งไว้จนน้ำทะเลใสแล้วจึงไขน้ำนี้เข้าสู่นาปลง NaCl จะตกผนึกออกมาเป็นส่วนใหญ่ ผนึกของเกลือ NaCl ที่ได้จึงค่อนข้างบริสุทธิ์มี

คุณภาพดี

ขอบคุณภาพจาก http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=69373

               การผลิตเกลือสินเธาว์
เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแร่ เกลือ ( Rock salt ) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคราม

ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี

การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ

1. เกลือจากผิวดิน ทำได้โดยขุดคราบเกลือจากผิวดินมาละลายน้ำกรองเศษดินและกากตะกอนออก นำน้ำ เกลือไปเคี่ยวให้แห้งจะได้ผลึกเกลือ

2. เกลือจากน้ำเกลือบาดาล น้ำเกลือบาดาลจะอยู่ลึกจากพื้นดินหลายระดับ อาจจะเป็น5-10

เมตรหรือ 30 เมตรก็ได้ การผลิตทำได้โดยการขุดเจาะลงไปถึงระดับน้ำเกลือบาดาลและสูบน้ำเกลือขึ้นมานำไปต้มหรือตากจะได้เกลือตกผลึกออกมา

3. เกลือจากเกลือหิน มีลำดับขั้นตอนการผลิตดังนี้

3.1. อัดน้ำจืดลงไปละลายเกลือในชั้นหินเกลือ

3.2. นำสารละลายน้ำเกลือมาเติม NaOH และ Na 2CO 3 เพื่อกำจัด Mg 2+ และ Ca 2+ ดัง

สมการ

                            Mg 2+  +  2OH -                            Mg (OH) 2
                            Ca 2+   +  CO 3 2-                            CaCO 3 
กรองแยก Mg(OH) 2 และ CaCO 3 ออกนำสารละลายเกลือไปตกผลึกจะได้ NaCl เมื่อตกผลึกไปนานๆ NaCl ในสารละลายจะลดลงแต่ในสารละลายจะมี NaSO 4 และ Na 2CO 3 ละลายอยู่ เรียกสารละลายนี้ว่า น้ำขม

 3.3. นำน้ำขมมากำจัดไอออนต่างๆออก  โดยเติม   CaCl 2  จะเกิด   CaCO 3 และ   CaCO 3         
ดังสมการ

              Ca 2+  +   SO 4 2-                             CaSO 4
              Ca 2+  +    CO 3 2-                             CaCO 3
                            กรองแยกตะกอนออกนำสารละลายที่ได้ไปตกผลึก   NaCl ได้อีก


ประโยชน์ ของเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์

     1. เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม  เพราะมีความชื้น  Ca 2+ และ Mg 2+ ต่ำ
     2. เกลือสมุทร เหมาะสำหรับใช้บริโภคเพราะมีไอโอดีนอยู่
         ร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ75 มิลลิกรัมต่อปี  เมื่อได้รับไอโอดีนร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในต่อมไทรอยด์  ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมอง  ประสาท  และเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้าขาดจะเป็นโรคคอพอก และถ้าขาดตั้งแต่ยังเด็ก  ร่างกายจะแคระแกร็น  สติปัญญาต่ำ  หูหนวก  เป็นใบ้  ตาเหล่และอัมพาต


การผลิตเกลือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

    1. ปัญหาการกระจายของดินเค็ม  ทำให้พื้นดินไม่เหมาะกับการเพาะปลูก
    2. ปัญหาการกระจายของเกลือลงสู่แหล่งน้ำ  มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ
    3. ปัญหาการยุบของพื้นดินบริเวณที่ผลิตเกลือบาดาล
เกลือสมุทรเหมาะที่จะใช้บริโภค เพราะมีไอโอดีนสูง กล่าวคือ เกลือสมุทร 10 mg มีไอโอดีนประมาณ 38.5 mg และเกลือสินเธาว์มีประมาณ 10 mg
เกลือสินเธาว์เป็นเกลือที่เหมาะใช้ในการอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น และแมกนีเซียม แคลเซียม ค่อนข้างต่ำ

ขอบคุณ ที่มาของ ข้อมูล http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-5-41859.html ค่ะ