วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การผลิตโซดาแอช

การผลิตโซดาแอช




      โซดาแอชมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคาร์บอเนต มีสูตรเป็น Na2CO3 การผลิตโซดาแอช เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ หรือโซดาแอมโมเนีย กระบวนการผลิตโซดาแอชมีดังนี้
-หินปูน (CaCO3) มาเผา จะได้ CaO และ CO2 เป็นผลิตภัณฑ์
CaCO3(s)       ->       CaO(s) + CO2(g)
-นำ CO2 มาทำปฏิกิริยากับสารละลาย NaCl เข้มข้น และ NH4OH ได้ NaHCO3 และ NH4Cl  เป็นผลิตภัณฑ์
CO2(g) + NaCl(aq) + NH4OH(aq)       ->     NaHCO3(s) + NH4Cl(aq)
-นำ  NaHCO3 มาเผา จะได้ Na2CO3 , H2O และ CO2  เป็นผลิตภัณฑ์
2NaHCO3(s)      ->        Na2CO3(s) + H2O(l) + CO2(g)
Na2CO3 ที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตกระดาษ แก้ว สิ่งทอ สบู่ ผงซักฟอก กระจก สารกำจัดความกระด้างของน้ำ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม

การผลิตโซดาแอช

ชื่อทางเคมีโซดาแอช                          : โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)
กระบวนการผลิตโซดาแอช               : กระบวนการโซลเวย์ หรือกระบวนการโซดาแอมโมเนีย
วัตถุดิบ                                                   : 1.โซเดียมคลอไรด์ (NaC
                                                                    2. แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO
                                                                    3. แก๊สแอมโมเนีย (NH3)
ขั้นตอนการผลิต :
1. นำ CaCO3 (s) มาเผา ได้ CaO (s) และ CO2 (g)
2. นำ CO2 (g) ไปทำปฏิกิริยากับ NaCl  (aq) เข้มข้น และ NH3  (g) ได้  NaHCO3 (s)  และ NH4Cl (aq)
3. กรองแยก NaHCO3 (s) ออก แล้วนำไปเผา ได้ Na2CO3 (s) หรือโซดาแอช

ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นแล้วนำกลับมาใช้ได้อีก :
CO2 (g) จากการเผา NaHCO3 (s) และ CaO (s)จากการเผา CaCO3 (s) เมื่อนำมาละลายน้ำ จะได้     
Ca(OH)2 (aq)   และเมื่อ Ca(OH)2 (aq)   ทำปฏิกิริยากับ NH4Cl (aq) จะได้
NH3  (g) กลับมาใช้ในขึ้นตอนที่ 2 อีกครั้ง  และเกิด
CaCl2(s) นำไปใช้เป็นใช้เป็นสารดูดความชื้น แต่มีการนำไปใช้น้อย จึงเกิดปัญหาในการกำจัด
NaHCO3 (s)  ทำผงฟู
NH4Cl (aq)  ทำปุ๋ยเคมี



แหล่งที่พบโซดาแอช
      โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง
     โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ มลรัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโซดาแอช

ชื่ออื่น                  โซดาแอช (Soda ash)
โซดาซักผ้า (Washing soda)
สูตรโมเลกุล      Na2CO3
น้ำหนักโมเลกุล                106.0 g/mol
ลักษณะปรากฏ  ของแข็งสีขาว
เลขทะเบียน CAS               [497-19-8]
คุณสมบัติ

ความหนาแน่น และ เฟส  2.5 g/cm3, ของแข็ง
การละลาย ใน น้ำ                                30 g/100 ml (20 °C)
จุดหลอมเหลว    851 °C
จุดเดือด                สลายตัว
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง

แอนไอออนอื่น                    โซเดียมไบคาร์บอเนต
แคทไอออนอื่น                    ลิเทียมคาร์บอเนต
โพแทสเซียมคาร์บอเนต

ขอบคุณที่มาจาก http://ktw61.blogspot.com/




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น